top of page
basic_bg.jpg
Search

พาส่อง🔍 อุปกรณ์วาดฉบับ Analog!



สวีสดีชาว Kreative Friends!! สำหรับอาทิตย์นี้เราจะมาไขปริศนากัน😎 เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นโต๊ะของนักวาดมังงะตามสื่อมาแล้ว แล้วทุกคนเคยสงสัยไหมว่าของแต่ละอย่างที่เห็นนั้นเรียกว่าอะไร?? แล้วเอาไว้ใช้ทำอะไรบ้าง?😵… วันนี้ KP Learning Space ได้รวบรวมสิ่งของเหล่านั้นมาให้แล้ว ถ้าพร้อมจะไขข้อสงสัยให้กระจ่างแล้วล่ะก็ ไปเริ่มกันเลยยยยยย!!!💫


อุปกรณ์พื้นฐาน



G pen : ปากกา Dip pen หรือเรียกอีกอย่างว่าปากกาจุ่มหมึก นิยมใช้สำหรับการตัดเส้นหลังจากการร่างต้นฉบับด้วยดินสอ โดย Nip หรือ หัวปากกา G pen จะให้เส้นที่มีความคมชัดและสามารถกำหนดน้ำหนักของเส้นว่าต้องการ ความหนา - ความบางเท่าไหร่ก็ได้ตามต้องการโดยการกดน้ำหนักในการตัดเส้น วิธีแยกหัวปากกา G Pen ออกจากหัวปากกาแบบจุ่มอื่น ๆ คือ จะมีสัญลักษณ์ตัว G ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

 

Maru pen : คือปากกาแบบจุ่มหมึกอีกประเภทหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ในการตัดเส้นต้นฉบับมังงะควบคู่กับการใช้ G Pen โดยหัวปากกาจะมีขนาดที่เล็กทำให้ได้เส้นขนาดเล็ก มีความคมชัด เหมาะแก่การใช้เก็บรายละเอียดงาน และใช้ในการวาดเส้นสปีดหรือฉากหลังด้วย



INK Black & White : หมึกสีดำใช้ในการตัดเส้น ควรเป็นหมึกที่มีสีดำสนิท แห้งไวและติดทนนาน โดยเฉพาะเวลาที่ใช้ยางลบลบแล้ว เส้นหมึกจะต้องไม่จางหรือลอกออกง่าย ควรเลือกเป็นหมึกที่ใช้สำหรับการวาดโดยเฉพาะ หมึกขาวหรือน้ำยาลบคำผิด สำหรับใช้ลบส่วนที่ตัดเส้นผิด ส่วนที่วาดเกิน และรอยเปื้อนต่างๆบนต้นฉบับ หรือใช้สำหรับตกแต่งภาพตามต้องการ ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบขวดที่มีหัวพู่กันเพื่อใช้แต้มจุดที่ผิดให้ดูเนียนไม่มีรอยเส้นสะดุดตา

 

Pigma Pen : ปากกาเคมีแบบหัวสักหลาดหรือหัวพู่กัน ใช้สำหรับการตกแต่งต้นฉบับ ซึ่งมีให้เลือกหลายขนาดตามการใช้งาน เช่น การถมดำ การตกแต่งเส้น เป็นต้น

 

Screen Tone : แผ่นสติ๊กเกอร์ใสที่มีลวดลายใช้ในการติดตกแต่งลงบนต้นฉบับเพื่อเพิ่มรายละเอียดให้กับต้นฉบับ เช่น แสง เงา ฉากหลัง หรือเอฟเฟ็กต์ต่างๆ โดยสามารถติดซ้อนทับกันได้และสามารถตัด กรีด และขูดตกแต่งได้ด้วยคัตเตอร์ เพื่อให้ได้รายละเอียดตามที่ต้องการ

 

Pen Cutter : คัตเตอร์ใช้สำหรับการตัดสกรีนโทน โดยมีด้านจับลักษณะเหมือนปากกาเพื่อสะดวกในการใช้งาน



Lighted Tracing Table : โต๊ะเขียนแบบมี่มีพื้นโต๊ะเป็นกระจก ภายในมีหลอดไฟที่สามารถเปิดเพื่อให้แสงส่องออกขึ้นมาบนพื้นโต๊ะได้ ใช้สำหรับการดราฟงาน เขียนแบบ และ ตัดเส้นชิ้นงาน


B4,B5 Paper : กระดาษ B4 และ B5 เป็นขนาดมาตฐานสำหรับนำมาวาดมังงะที่ญี่ปุ่นโดยจะต้องมีความหนา 100 - 110 แกรมขึ้นไป และ ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้หากระดาษที่มี crop mark เพื่อความสะดวกในการกำหนดระยะพื้นที่ในการวาดได้อย่างแม่นยำ


ไม้บรรทัดเขียนแบบ : ไม้บรรทัดที่มีรูเป็นรูปร่างต่างๆ นอกจากมีไว้สำหรับตีเส้นกรอบแล้วยังสามารถตีกรอบเป็นรูปร่างต่างๆได้อีกด้วย


นี้ก็คืออุปกรณ์พื้นฐานของนักวาดมังงะ แต่ถ้าเราไม่มีอุปกรณ์พวกนี้ละ..? ไม่ต้องห่วงไปเรายังมีอุปกรณอื่นๆที่สามารถใช้แทนกันได้ จะมีอะไรบ้างไปดูกัน~

.

.

.

.

.


Pigma Pen : สามารถใช้แทน G-Pen และ MARU Pen ได้ เนื่องจากเส้นมีความเสถียร ความยืดหยุ่นต่ำ และมีหลายขนาดให้เลือก เหมาะกับการวาดงานหลายแบบ ทั้งตัวละคร สิ่งของ ฉากหลัง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความถนัด และเทคนิค ที่จะทำให้งานออกมามีเสน่ห์มากขึ้น


LED Light Pad : สามารถใช้แทน Lighted Tracing Table เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะการใช้งานแบบเดียวกันเพียงแค่อยู่ในรูปแบบของกระดานตั้งโต๊ะที่มีแสงไฟLEDส่องผ่านออกมาจากหน้าจอ


A4 Paper ความหนา 100 - 110 แกรม : เป็นขนาดกระดาษที่นิยมใช้วาดมังงะในไทย สามารถใช้แทนกระดาษขนาด B4 B5 ได้


Liquid paper : สามารถใช้แทนหมึกขาวในการแก้ส่วนที่ผิดได้หรือถ้ามีจุดที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรายละเอียดและเน้นความรววดเร็ว เราสามารถใช้ liquid เทป ได้ด้วย


สุดท้ายนี้ หลังจากที่รู้แล้วว่าของแต่ละอย่างคืออะไรและมีเอาไว้ทำอะไรบ้าง ต่อมา เราก็จะมาดูกันดีกว่าว่าเราจะหาอุปกรณ์พวกนี้ได้ที่ไหนบ้าง ✒️

.

.

.


ร้านค้าออนไลน์/ร้านค้าที่มีหน้าร้าน

-       สมใจ : https://somjai.co.th/page/contact-us

-       B2S : https://www.b2s.co.th/

-       officemate : https://www.ofm.co.th/ 

-       Shopee : https://shopee.co.th/

-       Lazada : https://pages.lazada.co.th/


เป็นยังไงบ้าง เพื่อน ๆ คนไหนที่อยากลองวาดแบบ Analog ลองไปหาซื้อและศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้เลย ผลงานออกมาเป็นยังไงอย่าลืมมาคุยกันน้าา!


KP Learning Space | KP Trainee

Explore the Artist in you.



3 views0 comments

Comentarios


bottom of page